สาระน่ารู้เกี่ยวกับการชำระภาษี และกระบวนการขั้นตอน

...


การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 2) ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 ข้อบังคับ ภาษีโรงเรือนและที่ดินเรียกเก็บตามมาตรา 19 และมาตรา 20 บทกำหนดโทษ มาตรา 46 ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบ (ภ.ร.ด. 2) เว้นแต่จะเป็นด้วยเหตุสุดวิสัย มีโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท มาตรา 47 ผู้ใด โดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจละเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่แจ้งรายการเพิ่มเติมละเอียดยิ่งขึ้น เมื่อเรียกร้อง ไม่นำพยานหลักฐานมาแสดงหรือไม่ตอบคำถาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซักถามมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มาตรา 48 ผู้ใด (ก) โดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยคำอันเป็นเท็จ หรือ นำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยง หรือจัดหาทางให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยง การคำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินของตน (ข) โดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกง โดยอุบาย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นที่จะหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินของตน มีโทษจำคุก ขั้นตอนการยื่นแสดงรายการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 2) ขอแบบ - ที่ทำการเขต - เทศบาล ขอแบบประเมินภาษีแบบ ภ.ร.ด. 2 กรอกรายการในแบบ ภ.ร.ด. 2 รายงานของปีที่ผ่านมา ยื่นคำขอแบบ ภ.ร.ด. 2 ยื่นแบบคำขอแบบแบบ ภ.ร.ด. 2 ประเมิน เวลากำหนดตามประกาศ - เจ้าหน้าที่ออกไปประเมิน - มีหนังสือให้ผู้ยื่นแบบ - มาชำระภาษีภายใน 30 วัน ชำระภาษี - รับใบเสร็จ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่จะต้องยื่นแบบแจ้งแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ร.ด. 2) 1. เป็นที่ให้เช่า 2. เป็นที่ประกอบการค้า 3. เป็นที่ไว้สินค้า 4. เป็นที่ประกอบการอุตสาหกรรม 5. เป็นที่ให้ญาติ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หรือ ผู้อื่นอยู่อาศัย หลักในการพิจารณาทรัพย์สินใด อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน 1. ต้องมีทรัพย์สินอันได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นและ 2. ต้องไม่เข้าบทยกเว้นภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ชำระค่าภาษี ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง การประเมิน (ภ.ร.ด. 8) อาจชำระโดย 1. เงินสด ณ กองคลัง เทศบาล, งานผลประโยชน์ ฝ่ายพัฒนารายได้ 2. ส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงินของธนาคารหรือเช็คที่ธนาคารรับรอง ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน หลักการประเมินค่าภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่ จะประเมินค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี ค่ารายปี หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆพนักงานเจ้าหน้าที่ จะประเมินค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่าที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะ ที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันในเขตเทศบาลนั้น การแจ้งประเมินย้อนหลัง กรณีผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษี หรือยื่นแบบ (ภ.ร.ด. 2) ไม่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง หรือไม่สมบูรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังดังนี้ (1) ไม่ยื่นแบบ (ภ.ร.ด. 2) ประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี (2) ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง หรือไม่สมบูรณ์ ประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี การอุทธรณ์คำภาษีโรงเรือนฯ ถ้าผู้รับประเมิน ไม่พอใจการประเมินภาษีโรงเรือนฯ ให้ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ (ภ.ร.ด. 9) ต่อคณะ เทศมนตรี ภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด. 8) ถ้ายื่นอุทธรณ์เกินกว่า 15 วัน จะหมดสิทธิ์ให้พิจารณาการประเมินใหม่ และจำนวนค่าภาษีซึ่งประเมินไว้นั้นถือเป็นจำนวนเด็ดขาด ห้ามไม่ให้นำคดีขึ้นสู่ศาล ศาลภาษีอากร ถ้าผู้รับประเมินยังไม่พอใจในคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี มีสิทธิ์นำคดีขึ้นสู่ศาลจังหวัด หรือศาลภาษีอากรกลางกรุงเทพฯ เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องก็ได้ แต่ต้องกระทำภายในกำหนด 30วัน นับแต่วันทราบคำชี้ขาด มิฉะนั้นจะหมดสิทธิ์นำคดีขึ้นสู่ศาล การบังคับชำระค่าภาษี ถ้าไม่ชำระค่าภาษี และเงินเพิ่มภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนด 30 วัน นายกเทศมนตรีฯ อาจสั่งเป็นหนังสือให้ยึดอายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยมิต้องขอให้ศาลสั่ง หรือออกหมายยึด ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะกำหนด การเสียเงินเพิ่ม ถ้าค่าภาษีมิได้ชำระภายในกำหนด 30 วัน ต้องเสียเงินเพิ่มดังนี้ (1) ถ้าชำระไม่เกินหนึ่งเดือน นับแต่วันพ้นกำหนด เพิ่มร้อยละ 2.50 ของค่าภาษีที่ค้าง (2) ถ้าเกินหนึ่งเดือน แต่ไม่เกินสองเดือน เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง (3) ถ้าเกินสองเดือน แต่ไม่เกินสามเดือน เพิ่มร้อยละ 7.50 ของค่าภาษีที่ค้าง (4) ถ้าเกินสามเดือน แต่ไม่เกินสี่เดือน เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง คำอธิบายเพิ่มเติม 1. ทรัพย์สินที่ต้องแจ้งรายการในแบบพิมพ์นี้คือ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ทั้งสิ้นที่ให้เช่าที่ทำการค้าขาย ที่ไว้สินค้า ที่ประกอบการอุตสาหกรรม ที่ให้ญาติ พ่อแม่ หรือผู้อื่นอาศัย และที่ใช้กิจการอื่นๆในปีที่เพิ่งล่วงแล้วเว้นแต่หลังใดที่อยู่ในลักษณะยกเว้นตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 หรือมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475 2. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องแจ้งรายการตั้งอยู่ในท้องที่เขตเทศบาล หรือสุขาภิบาลใด ให้ยื่นแบบแจ้งรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำเทศบาล หรือสุขาภิบาลนั้น ภายในกำหนดประกาศและผู้รับประเมินควรไปยื่นด้วยตนเอง เพื่อจะต้องชี้แจงเพิ่มเติมตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องการทราบ 3. ช่องอัตราค่าเช่าเดือนละ ให้กรอกจำนวนเงินที่มีสัญญาหรือตกลงเรียกเก็บเป็นค่าเช่าในปีที่เพิ่งล่วงแล้วจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องรวมทั้งส่วนควบ (ไม่รวมเงินค่าอื่น ๆ ที่เรียกเก็บตามคำอธิบายข้อ 7 ) 4. ค่าของสินค้า ให้กรอกจำนวนเงินซึ่งเป็นค่าของสินค้าทั้งหมดที่เหลือเก็บอยู่ในโรงเรือนที่ท่านทำการค้าหรือไว้สินค้าของท่านเอง 5. ค่าของเครื่องจักรกล โรงเรือนหลังใดได้ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญ มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรม เช่น โรงเลื่อย โรงสี ฯลฯ ให้กรอกจำนวนเงินคำนวณเป็นค่าของส่วนควบนั้น ๆ ไว้ 6. การลดหย่อนค่ารายปี โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ห้อง หรือหลังใด ได้รับการลดหย่อนค่ารายปีตามมาตรา 11 (ค่ารายปี หมายความว่า จำนวนเงิน ซึ่งทรัพย์สินนั้น ๆ สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ)เพราะถูกทำลาย รื้อถอน ปลูกสร้างใหม่หรือติดตั้งส่วนควบ หรือขอลดเงินค่ารายปี เพราะว่าง หรือซ่อมแซมส่วนสำคัญ หรือต้องการขอลดค่ารายปี หรือค่าภาษี ด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ให้กรอกรายการที่ขอลดในช่องนี้ และต้องส่งหลักฐานประกอบคำร้องมาพร้อมกับบัญชีนี้ ถ้าไม่มีหลักฐานมาให้เพียงพอพนักงานเจ้าหน้าที่อาจไม่พิจารณาลดให้เลยก็ได้ (เฉพาะโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งเก็บของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือน และที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475) 7. รายได้อย่างอื่น ในปีที่เพิ่งล่วงแล้ว ท่านได้สัญญาหรือตกลงเรียกเก็บเงินอย่างอื่นจากผู้เช่า หรือให้เช่าจ่ายให้ผู้อื่น นอกจากค่าเช่าปกติ เช่นเงินกินเปล่า (แป๊ะเจี๊ยะ) ค่าภาษี ค่าประกันไฟ ค่าน้ำประปา ค่าแรงไฟฟ้าค่าตั้งส้วม ค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา ค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่า เครื่องเรือน หรือของใช้อื่น ๆ เป็นจำนวนเงินเท่าใด และมีกำหนดต้องเสียอย่างใด ให้กรอกไว้ในช่องรายการเงินอื่นใด ที่เรียกเก็บจากผู้เช่าฯ 8. คำว่า “โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ” คือโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น รวมทั้งที่ดินใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ อันต้องเสียภาษีตามความในภาค 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 9. คำว่า “ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ” หมายความว่าที่ดินซึ่งปลูกสร้างโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และบริเวณต่อเนื่องกัน (สนาม สระน้ำ ที่ว่าง) ซึ่งปกติใช้ไป ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ **************************** สาระน่ารู้เกี่ยวกับ การจัดเก็บภาษีป้าย ป้ายคืออะไร พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 6 “ป้าย” หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึกหรือทำให้รากฎด้วยวิธีอื่น เจ้าของป้าย มีหน้าที่อะไรบ้าง ? เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายรายปี ยกเว้น! ป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรก ให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรก ให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิด ภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่ งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี (ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2535) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย 1. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในเดือน มกราคม - มีนาคมของทุกปี 2. ผู้ใดติดตั้งป้าย อันต้องเสียภาษีหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิมหรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ อันเป็นเหตุให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข 3. เมื่อได้รับแจ้งการประเมินภาษีป้าย (ภ.ป.3) แล้ว ต้องไปชำระค่าภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับการประเมิน 4. ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการ ค้าหรือประกอบกิจการ 5. ในกรณีที่มีการโอนป้าย ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับโอน อัตราภาษีป้าย 1. ป้ายที่มีตัวอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท / 500 ตารางเซนติเมตร 2. ป้ายที่มีตัวอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา 20 บาท / 500 ตารางเซนติเมตร 3. ป้ายดังต่อไปนี้ - ป้ายที่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ - ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ คิดอัตรา 40 บาท / 500 ตารางเซนติเมตร 4. ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท การอุทธรณ์ ในกรณีที่เจ้าของป้ายขออุทธรณ์การประเมินค่าภาษีป้าย ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เงินเพิ่มภาษีป้าย ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายกรณีต่อไปนี้ 1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ ต้องเสียภาษีป้าย 2. ยื่นแบบไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีลดลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีที่ ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่จะมาแก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งการประเมิน 3. ไม่ชำระภาษีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียภาษีเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เมื่อปรากฏว่า เจ้าของป้ายมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายหรือยื่นแบบโดยไม่ถูกต้อง พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย 1. ผู้ใดรู้อยู่แล้ว หรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อ หลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท 3. ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นและมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องมีชื่อและที่อยู่ของ เจ้าของป้าย เป็นตัวอักษรไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด 4. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย และไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท 5. ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับตั้งแต่ 1,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 6. ในกรณีที่ผู้กระทำความผิด ซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติเป็นนิติบุคคล ต้องรับโทษตามที่ บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็น หรือยินยอมในการกระทำความผิด ของนิติบุคคลนั้น สรุปขั้นตอนการชำระภาษี 1. เจ้าของป้ายมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้ายภายในเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุก ปี ( แบบ ภ.ป.1 ) 2. พนักงานเจ้าหน้าที่จะคิดคำนวณอัตราภาษีป้ายตามขนาดพื้นที่ที่เจ้าของป้ายยื่นแบบ และแจ้งการ ประเมินให้เจ้าของป้ายทราบ ( แบบ ภ.ป.3 ) 3. เจ้าของป้ายมีหน้าที่ต้องมาเสียภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันรับแจ้งการประเมิน 4. หากเจ้าของป้ายไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อนายกเทศมนตรีได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันแจ้งการประเมิน 5. นายกเทศมนตรีจะต้องพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่ วันอุทธรณ์ และแจ้งให้เจ้าของป้ายทราบ 6. หากเจ้าของป้ายไม่พอใจการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวอีก สามารถฟ้องคดีต่อศาลได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ *********************************

ไฟล์